โครงการแก้ไขปัญหาช้างป่าภาคตะวันออก
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มีบทบาทในการแก้ปัญหาช้างป่าจังหวัดจันทบุรีและในจังหวัดระยอง อยู่อย่างต่อเนื่อง เช่น การจัดเวทีเสวนาประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าจังหวัดจันทบุรี ร่วมดำเนินการกองทุนรวมจันท์ ร่วมใจ ช่วยเหลืออาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่า และผู้ประสบภัยช้างป่าจังหวัดจันทบุรี
พัฒนาระบบตรวจจับและแจ้งเตือนการบุกรุกพื้นที่เกษตรกรรมของช้างป่าในเขตพื้นที่จังหวัดระยองและจังหวัดจันทบุรี ร่วมยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มคชานุรักษ์ในเขตอำเภอเขาชะเมา เป็นต้น
โครงการเวทีประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า จังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 1
วันที่ 14 สิงหาคม 2565 มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จัดพื้นที่เวทีเสวนาประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าจังหวัดจันทบุรี
ณ หอประชุมสิริรำไพพรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
การจัดโครงการในครั้งนี้เป็นการบูรณาการความร่วมมือจากหลายภาคส่วน นำโดยพระธรรมวชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม
และคณะสงฆ์เจ้าคณะผู้ปกครองในจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยรองผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
โดยมีตัวแทนประชาชนจากพื้นที่ต่าง ๆ ที่รับผลกระทบจากช้างป่าในจังหวัดจันทบุรีเข้าร่วมกิจกรรม
อาทิ อำเภอมะขาม อำเภอเขาคิชฌกูฏ อำเภอแก่งหางแมว อำเภอโป่งน้ำร้อน อำเภอสอยดาว อำเภอท่าใหม่ และอำเภอนายายอาม
สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การเสวนากึ่งวิชาการด้านประเด็นสถานการณ์ช้างป่าทั่วโลกและประเทศไทย
กรณีศึกษาปัญหาช้างป่าในพื้นที่จังหวัดป่ารอยต่อ 5 จังหวัดภาคตะวันออก กรณีศึกษาการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาช้างป่า
นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นด้านการสะท้อนปัญหาและข้อเสนอความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า
(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
(ข่าวประชาสัมพันธ์) |
(วีดีโอ)
โครงการเวทีประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า จังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 2
วันที่ 8 ตุลาคม 2565 (09:00 น.) 8 ตุลาคม 2565 เวลา 09.00 น. ณ หอประชุมสริรำไพพรรณ พลเอก เฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี
เป็นประธานโครงการเวทีประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า จังหวัดจันทบุรี ครั้งที่ 2
โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ไวกูณฑ์ ทองอร่าม อธิการบดี พร้อมคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ มีพระธรรมวชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม,
พลตำรวจโท ธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ, พลเรือเอกอะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ,
นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี, ดร.รอยบุญ รัศมีเทศ ประธานกรรมการกองทุนคชานุรักษ์,
พลตำรวจตรี นันทวุฒิ สุวรรณละออง รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 2 และผู้แทนชุมชนร่วมเวทีประชาคมสะท้อนปัญหาและความต้องการของชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า
โดยในเวทีนี้มีแกนนำจากพื้นที่กว่า 100 หมู่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่าร่วมกันนำเสนอผลการดำเนินโครงการกองทุนพัชรสุธาคชานุรักษ์
การแก้ปัญหาผลกระทบจากช้างป่าด้วยแนวทางกิจการเพื่อสังคม และทบทวนข้อมูลจากเวทีประชาคม ครั้งที่ 1
ก่อนที่จะแบ่งกลุ่มเวทีอภิปราย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มภาครัฐ และภาคประชาชน
(รายละเอียดเพิ่มเติม) |
(ข่าวประชาสัมพันธ์)
โครงการทอดผ้าป่า รวมจันท์ร่วมใจ เพื่อช่วยเหลืออาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าและผู้ประสบภัย จังหวัดจันทบุรี
วันที่ 17 ธันวาคม 2565 (09:00 น.) 17 ธันวาคม 2565 (08.30 น.) ณ หอประชุมสิริรำไพพรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ไวกูณฑ์ ทองอร่าม อธิการบดี พร้อมคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับพลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี , พระธรรมวชิรเมธี
เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร , นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี , พลตำรวจโทธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ,
พลตรีกานต์ ทองอารีย์ รองเจ้ากรมเทคโนโลยีสารสนเทศและอวกาศกลาโหมฯ , พลตำรวจตรีผดุงศักดิ์ รักษาสุข ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี และหัวหน้าส่วนราชการ
ผู้นำชุมชนในการร่วมโครงการทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบกองทุน "รวมจันท์ร่วมใจ" เพื่อช่วยเหลืออาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าและผู้ประสบภัย จังหวัดจันทบุรี
(แสดงรายละเอียดเพิ่มเติม) |
(วีดีโอข่าว)
โครงการเวทีเสวนาแนวทางการบริหารจัดการกองทุน “รวมจันท์ร่วมใจ”
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จัดโครงการเวทีเสวนาแนวทางการบริหารจัดการกองทุน "รวมจันท์ร่วมใจ" เพื่อช่วยเหลืออาสาสมัครเฝ้าระวัง ช้างป่าและผู้ประสบภัย เพื่อให้ประชาชนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาช้างป่าได้เข้าใจตรงกันในเรื่องการบริหารจัดการกองทุน
วันที่ 3 พฤษภาคม 2566 (09:00 น.) ณ หอประชุมสิริรำไพพรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไวกูณฑ์ ทองอร่าม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีพร้อมคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับพระธรรมวชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนารามราชวรวิหาร ประธานในพิธี พร้อมด้วยพลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี , พลตำรวจโทธัชชัย ปิตะนีละบุตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ , นายมนต์สิทธิ์ ไพศาลธนวัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และพลตำรวจตรีผดุงศักดิ์ รักษาสุข ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี ในการร่วมกำหนดการเวทีเสวนาแนวทางการบริหารจัดการกองทุน “รวมจันท์ร่วมใจ” เพื่อช่วยเหลืออาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าและผู้ประสบภัย จังหวัดจันทบุรี
โครงการนี้สืบเนื่องจากพระธรรมวชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม มีดำริให้มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีร่วมกับสำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรีจัดโครงการทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบกองทุน "รวมจันท์ร่วมใจ" เพื่อช่วยเหลืออาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าและผู้ประสบภัย จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณีจึงกำหนดจัดโครงการเวทีเสวนาแนวทางการบริหารจัดการกองทุน "รวมจันท์ร่วมใจ" เพื่อช่วยเหลืออาสาสมัครเฝ้าระวัง ช้างป่าและผู้ประสบภัย จังหวัดจันทบุรี ให้ประชาชนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาช้างป่าได้เข้าใจตรงกันในเรื่องการบริหารจัดการกองทุน "รวมจันท์ร่วมใจ" และแนวทางการช่วยเหลืออาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าและผู้ประสบภัย ในจังหวัดจันทบุรีต่อไป ซึ่งในพิธีมีการมอบกรมธรรม์ประกันชีวิต และมอบสิ่งของสนับสนุนการปฏิบัติงานให้แก่ตัวแทนอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าและผู้ประสบภัยจังหวัดจันทบุรี อีกด้วย
(แสดงรายละเอียดเพิ่มเติม)
ประชุมหารือเกี่ยวกับปัญหาช้างป่าบุกรุกพื้นที่การเกษตรและสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในพื้นที่ตำบลทับไทรและตำบลโป่งน้ำร้อน
วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2567 (13:00 น.) ที่ห้องประชุมสามศร ชั้น 8 อาคารสำนักงานอธิการบดี (อาคาร 36) พลเรือตรีธีรเกียรติ ทองอร่าม รองผู้บัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด พร้อมด้วยพลตำรวจตรี ผดุงศักดิ์ รักษาสุข ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานร่วมในการประชุมหารือเกี่ยวกับปัญหาช้างป่าบุกรุกในพื้นที่การดูแลของค่ายเทวาพิทักษ์ ต.โป่งน้ำร้อน อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี โดยมีตัวแทนจากเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวาย เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว สถานีตำรวจภูธรบ้านแปลง สถานีตำรวจภูธรโป่งน้ำร้อน และมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ร่วมรับฟังปัญหาจากชุมชน
การประชุมดังกล่าว สืบเนื่องจากปัญหาช้างป่าบุกรุกพื้นที่ชุมชนบริเวณค่ายเทวาพิทักษ์ สร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนมานาน ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหานี้ จึงจัดการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางการแก้ไขที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยทั้งคนและช้างป่า เนื่องจากสาเหตุหลักของปัญหาช้างป่าบุกรุกพื้นที่ชุมชน เกิดจากการขยายตัวของชุมชน และการลดลงของพื้นที่อาหารของช้างป่า จึงต้องมีการร่วมกันบูรณาการแผนงาน เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วนของปัญหาช้างป่าทำลายพืชผลทางการเกษตร ทำลายทรัพย์สินและสร้างความหวาดกลัวให้กับประชาชน รวมถึงปัญหาอัตราค่าตอบแทนของอาสาสมัครผลักดันช้าง
ในการประชุมครั้งนี้ มีการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาหลายประการ เช่น การปลูกป่าเพื่อเพิ่มแหล่งอาหารให้กับช้างป่า การสร้างแนวกันชนป้องกันช้างป่าบุกรุกพื้นที่ชุมชน การพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันตนเองจากช้างป่า การสนับสนุนด้านการเงินและทรัพยากรให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจะได้รวบรวมข้อมูลและข้อเสนอแนะจากการประชุมครั้งนี้ เพื่อนำไปสู่การดำเนินการแก้ไขปัญหาช้างป่าบุกรุกพื้นที่ชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนต่อไป
โครงการนี้สืบเนื่องจากพระธรรมวชิรเมธี เจ้าอาวาสวัดหงส์รัตนาราม มีดำริให้มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีร่วมกับสำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดจันทบุรีจัดโครงการทอดผ้าป่าสามัคคีสมทบกองทุน "รวมจันท์ร่วมใจ" เพื่อช่วยเหลืออาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าและผู้ประสบภัย จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณีจึงกำหนดจัดโครงการเวทีเสวนาแนวทางการบริหารจัดการกองทุน "รวมจันท์ร่วมใจ" เพื่อช่วยเหลืออาสาสมัครเฝ้าระวัง ช้างป่าและผู้ประสบภัย จังหวัดจันทบุรี ให้ประชาชนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาช้างป่าได้เข้าใจตรงกันในเรื่องการบริหารจัดการกองทุน "รวมจันท์ร่วมใจ" และแนวทางการช่วยเหลืออาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าและผู้ประสบภัย ในจังหวัดจันทบุรีต่อไป ซึ่งในพิธีมีการมอบกรมธรรม์ประกันชีวิต และมอบสิ่งของสนับสนุนการปฏิบัติงานให้แก่ตัวแทนอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าและผู้ประสบภัยจังหวัดจันทบุรี อีกด้วย
(แสดงรายละเอียดเพิ่มเติม)
กิจการเพื่อสังคมสวนบ้านแก้ว หรือ Social Enterprise (SE) หนุนเสริมวิสาหกิจชุมชนรักษ์ช้าง รักษาป่าตะวันออก
กิจการเพื่อสังคมสวนบ้านแก้ว หรือ Social Enterprise (SE) หนุนเสริมวิสาหกิจชุมชนรักษ์ช้าง รักษาป่าตะวันออก พัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรฝางเพื่อสุขภาพผลิตภัณฑ์รักษ์ช้าง น้ำฝางบริสุทธิ์ น้ำฝางผสมน้ำผึ้ง ใบชะมวง น้ำฝางผสมอบเชย สบู่ แก่นฝาง ฝางชง น้ำมันเทพทาโรข้าวหอมมะลิเคลือบฝาง น้ำผึ้ง ฯลฯ
(แสดงรายละเอียดเพิ่มเติม)
โครงการวิจัยเรื่อง "การพัฒนาระบบเฝ้าระวังช้างป่าบุกรุกในพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างคนและช้างด้วยเทคโนโลยีโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชัน"
ความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างเกิดขึ้นเนื่องจากการอพยพของช้างจากถิ่นที่อยู่อาศัย ไปยังพื้นที่เกษตรกรรมของมนุษย์เพื่อหาอาหารและแหล่งน้ํา
งานวิจัยนี้ จึงได้นําเสนอเทคโนโลยีโครงข่ายประสาทเทียมแบบคอนโวลูชันเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างคนกับช้าง
ด้วยกระบวนการทํางานที่เรียกว่าโยโล่ รุ่นที่ 5 เพื่อดําเนินการตรวจจับวัตถุแบบเรียลไทม์จาก วิดีโอโดยใช้
อุปกรณ์สมองกลแบบฝังตัวเพื่อ เฝ้าระวังช้างป่าบุกรุกในพื้นที่เกษตรกรรม ขั้นตอนแรกนักวิจัยได้รวบรวมชุดข้อมูลภาพช้างจากพื้นที่เฝ้าระวัง
โดยใช้ประโยชน์จากเฟรมเวิร์คของปัญญาประดิษฐ์ วิวัฒนาการเชิงลึกเพื่อพัฒนาแบบจําลองสถาปัตยกรรมเครือข่ายโยโล่
และสร้างสถาปัตยกรรมที่เหมาะสม กับ อุปกรณ์สมองกลฝังตัว ที่มีทั้งความเร็วและความแม่นยําที่เหมาะสมงานนี้นักวิจัยได้ปรับ
ค่าไฮเปอร์พารามิเตอร์สําหรับแบบจําลองโยโล่ได้แก่ แบบจําลอง โยโล่เอ็น โยโล่เอส และโยโล่เอ็ม
ซึ่งเป็นแบบจําลองการคํานวณที่ลดความซับซ้อนลง และแบบจําลองที่ได้นําเสนอ มานี้มีความเหมาะสมกับอุปกรณ์สมองกลฝังตัว
หลังจากทดสอบพบว่าแบบจําลองโยโล่เอส มีค่าเฉลี่ยความแม่นยําอยู่ที่ 95.68%mAP@.5 โดยมีความเร็วมากกว่าแบบจําลอง
โยโล่เอ็มถึง 50% ที่ความแม่นยําสูงสุด 95.46%mAP@.5 จากนั้น ก่อนนําแบบจําลองไปติดตั้งที่อุปกรณ์สมองกลฝังตัวนักวิจัยได้เพิ่มชุดข้อมูลรูปภาพช้างจากอินเทอร์เน็ตให้กับโยโล่เอส เพื่อเพิ่มความแม้นยําจนได้ค่าใหม่คือ 98.02%mAP@.5
หลังจากติดตั้งระบบพบว่าการเรียนรู้เชิงลึกสามารถตรวจจับการบุกรุกของช้างป่าในพื้นที่เกษตรกรรมได้อย่างแม่นยําแม้บางครั้งอาจช้ากว่าที่มนุษย์สังเกตเห็นอยู่เล็กน้อย
วสุพล เผือกนําผล1,*, วิชาญ ทุมทอง2, ปฏิคม ทองจริง3 คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่15 มกราคม - ธันวาคม 2566
(แสดงรายละเอียดเพิ่มเติม)
ที่มาข้อมูล : คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
(เว็บไซต์คณะ) Phone: +66 039-319111 #11100
สาขาภูมิสารสนเทศ สาธิตระบบรั้วไร้สายแจ้งเตือนช้างป่าบุกรุก
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี โดยสาขาวิชาภูมิสารสนเทศ คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
สาธิตระบบรั้วไร้สายแจ้งเตือนช้างป่าบุกรุก ให้แก่องค์การบริหารส่วนตำบลขุนซ่อง
พร้อมทั้งลงสำรวจพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากกช้างป่า
วันที่ 10 มกราคม 2567 (09:12 น.) สาขาวิชาภูมิสารสนเทศ คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
เข้าพบนายก และผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลขุนซ่อง เพื่อนำเสนอและสาธิตระบบและอุปกรณ์สำหรับการจัดอบรมเชิงปฎิบัติการบริการวิชาการ
โครงการรั้วไร้สายแจ้งเตือนช้างป่าบุกรุกพื้นที่เกษตรกร และโครงการสร้างระบบแผนที่ออนไลน์เพื่อประเมินความเสียหายจากการบุกรุกของช้างป่า
พร้อมทั้งลงสำรวจพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากช้างป่า เพื่อวางแผนติดตั้งระบบตัวอย่างสำหรับงานโครงการดังกล่าว
(แสดงรายละเอียดเพิ่มเติม)
โครงการ "ระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อการตรวจจับและแจ้งเตือนภัยช้างป่าเชิงบูรณาการ
องคมนตรีลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมความก้าวหน้างานวิจัยช้างป่า
วันที่ 5 ตุลาคม 2567 พลเอกเฉลิมชัย สิทธิสาท องคมนตรี ลงพื้นที่ศูนย์เฝ้าระวังและผลักดันช้างป่า บ้านพญากำพุช อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี
โดยมี ผศ.วิชาญ ทุมทอง อาจารย์คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ หัวหน้าโครงการ "ระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อการตรวจจับและแจ้งเตือนภัยช้างป่าเชิงบูรณาการ"
รายงานความก้าวหน้าของวิจัยดังกล่าว โดยโครงการวิจัยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สถาบันการวิตจัยแห่งชาติ
ผู้แจ้งข้อมูล : ผศ.วิชาญ ทุมทอง คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
ติดต่อสอบถาม
สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
หมายเลขโทรศัพท์ : 098-247-2580 , 039-319111 ต่อ 11400-3
เว็บไซต์ :
https://uniserv.rbru.ac.th
Facebook :
UNISERVRBRU