Follow Us:
Call Us: 098-247-2580

บริการตรวจความอ่อนแก่ทุเรียนด้วยเทคนิค NIR (FT- NIR Spectroscopy)

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานจังหวัดจันทบุรี เปิดให้บริการตรวจความอ่อนแก่ทุเรียนด้วยเทคนิค NIR (FT- NIR Spectroscopy) โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ให้บริการที่อาคารศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรภาคตะวันออก คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี (พิกัดที่ตั้ง https://maps.app.goo.gl/8x4QZEZBhQe9YKXv5) เปิดให้บริการตรวจความอ่อนแก่ทุเรียนให้กับเกษตรกร ล้งรับซื้อทุเรียนและมือตัดทุเรียน ในเขตพื้นที่ที่มีผลผลิตออกจำหน่ายก่อนกำหนดช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวทุเรียนภาคตะวันออก โดยใช้เทคนิค FT- NIR Spectroscopy (NIR) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ตรวจวัดคุณสมบัติการดูดกลืนแสงของตัวอย่างในช่วงคลื่น Near Infrared มีการประมวลผลเพื่อให้ได้ข้อมูลจากการสั่นของโมเลกุลต่าง ๆ ทำให้สามารถทราบผลตรวจความอ่อนและแก่ของทุเรียนได้ ซึ่งภายหลังจากการตรวจความอ่อนแก่ทุเรียนเรียบร้อยแล้ว ทุเรียนที่ผ่านมาตรฐานตามที่ศูนย์ฯ กำหนด จะได้รับใบรับรองการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้ง เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับการซื้อขายทุเรียน

ในส่วนของทุเรียนที่นำมาตรวจนั้น ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรภาคตะวันออก ได้กำหนดให้เป็นทุเรียน 1 ผล จากแปลงที่จะเก็บเกี่ยว(ตัดไม่เกิน 1 วัน) โดยทุเรียนจะต้องมีจำนวนพู ตั้งแต่ 3 พูขึ้นไป และไม่มีร่องรอยการเปิดกรีด เพื่อประสิทธิภาพและความแม่นยำในการตรวจ นอกจากนี้ผู้ที่นำทุเรียนมาตรวจ จำเป็นต้องนำสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาใบ GAP ที่ยังไม่หมดอายุ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินการ

สำหรับท่านที่สนใจนำทุเรียนมาตรวจความอ่อนแก่ด้วยเทคนิค FT- NIR Spectroscopy (NIR) สามารถนำทุเรียนของท่านมาที่ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณีได้ โดยทางศูนย์จะเปิดให้บริการตามประกาศแจ้งเปิดให้บริหารผ่านทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยในแต่ละปี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.classforecast.rbru.ac.th หมายเลขโทรศัพท์ 061-660-5306


สรุปผลดำเนินการตรวจทุเรียนอ่อน

สรุปการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียน จุดบริการตรวจก่อนตัดมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ประจำปี 2566 (แสดงรายละเอียดเพิ่มเติม)
เปิดให้บริการระหว่างวันที่ 10 มีนาคม - 25 มิถุนายน 2566 จำนวนทุเรียนที่ตรวจ 771 ตัวอย่าง ผู้แจ้งตรวจ 577 ราย เป็นหมอนทอง มีผลตรวจ ไม่น้อยกว่า 32 % จำนวน 543 ตัวอย่าง ชะนี ไม่น้อยกว่า 30 % จำนวน 7 ตัวอย่าง พวงมณี ไม่น้อยกว่า 30 % จำนวน 5 ตัวอย่าง และ กระดุม ไม่น้อยกว่า 27 % จำนวน 6 ตัวอย่าง เป็นทุเรียนมาจากแปลงปลูก 3 จังหวัด จันทบุรี ระยอง และตราด 22 อำเภอ 82 ตำบล 234 หมู่บ้าน

สรุปการตรวจเปอร์เซ็นต์น้ำหนักแห้งในเนื้อทุเรียน จุดบริการตรวจก่อนตัดมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ประจำปี 2567 (แสดงรายละเอียดเพิ่มเติม)
เปิดให้บริการระหว่างวันที่ 17 เมษายน - 20 พฤษภาคม 2567 จำนวนทุเรียนที่ตรวจ 235 ตัวอย่าง ผู้แจ้งตรวจ 156 ราย เป็นหมอนทอง มีผลตรวจ ไม่น้อยกว่า 32 % จำนวน 172 ตัวอย่าง ชะนี ไม่น้อยกว่า 30 % จำนวน 1 ตัวอย่าง พวงมณี ไม่น้อยกว่า 30 % จำนวน 2 ตัวอย่าง และ กระดุม ไม่น้อยกว่า 27 % จำนวน 0 ตัวอย่าง เป็นทุเรียนมาจากแปลงปลูก 3 จังหวัด จันทบุรี ระยอง ตราดและไม่ระบุพื้นที่ ทุเรียนจากอำเภอ 16 อำเภอ 50 ตำบล 116 หมู่บ้าน


รูปกิจกรรมการตรวจทุเรียนอ่อน

Durian 2
Durian 3
Durian 4
Durian 5
Durian 6
Durian 7
Durian 8
Durian 9
Durian 10
Durian 11
Durian 12
Durian 13

ติดต่อสอบถาม

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าเกษตรภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี
หมายเลขโทรศัพท์ : 061-660-5306
เว็บไซต์ : www.classforecast.rbru.ac.th
Facebook : Food-Science-RBRU-Class-Forecast
พิกัดที่ตั้ง : https://maps.app.goo.gl/8x4QZEZBhQe9YKXv5