โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ธนาคารออมสิน (click ลิงค์ไปเว็บไซต์ธนาคารออมสิน)
เสริมสร้างพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น
ร่วมกับนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษา คนรุ่นใหม่ ให้ร่วมคิด ร่วมทำ บูรณาการภูมิปัญญา นำวิทยาการกระบวนการทำงานสมัยใหม่
ไปยกระดับขีดความสามารถกลุ่มองค์กรชุมชนที่รวมตัวกันสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการ ให้มีศักยภาพ มีมูลค่าเพิ่ม แข่งขันในตลาดได้
รายงานสรุปโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2566 (เล่ม PDF)
โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2567 (เล่ม PDF)
กิจกรรม “เสนอผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาและการจัดบูธกิจกรรมทดสอบตลาด ผลิตภัณฑ์ที่ได้ดำเนินการพัฒนา ภายใต้โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2567”
วันที่ 12 กันยายน 2567 เวลา 13.30 น.ณ จันทบุรีฮอลล์ ชั้น 2 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลจันทบุรี
สืบเนื่องจากธนาคารออมสินและสำนักบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ได้ร่วมจัดโครงการ “ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2567” เพื่อบูรณาการภูมิปัญญาและวิทยาการสมัยใหม่ของมหาวิทยาลัยกับภูมิปัญญา
และทรัพยากรท้องถิ่น สร้างกระบวนการในการเสริมสร้างและพัฒนา ยกระดับ
ขีดความสามารถในการประกอบการของกลุ่มชุมชนที่รวมตัวกันสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการให้มีศักยภาพ มีมูลค่าเพิ่ม สามารถยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ตอบสนอง
ต่อความต้องการของตลาด ซึ่งเป็นการเสริมสร้างการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ และสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้ของกลุ่มชุมชนได้อย่างยั่งยืน
จากการดำเนินงานที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยและธนาคารออมสินได้ร่วมขับเคลื่อนโครงการฯ จำนวน 5 โครงการ ในพื้นที่จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ผลการดําเนินงาน พบว่าได้กิจกรรมได้มีการพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ จำนวน 4 ผลิตภัณฑ์ และบริการ จำนวน
1 บริการ
โดยทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ The Best ได้แก่ ทีม Collaborate to DevelopCommunity Enterprise Products(CDCEP) ผลิตภัณฑ์จากมังคุด "เยลลี่กัมมี่มังคุด"
ซึ่งทีมนักศึกษาประกอบไปด้วยนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะเทคโนโลยีการเกษตร นักศึกษาสาขาออกแบบผลิตภัณฑ์ คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และนักศึกษาสาขาการตลาด คณะวิทยาการจัดการ อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ผศ.ดร.หยาดรุ้ง สุวรรณรัตน์
ผศ.จิรพร สวัสดิการ
อาจารย์ขนิษฐา รัตน์ประโคน
ผศ.บุษรา บรรจงการ
อาจารย์ศาสตรพันธุ์ บุญน้อย